วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้นทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย
"การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็นในยุคดิจิติล การใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ" การใช้แท็บเล็ต(Tablet) ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้  โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ  พัฒนาเครือข่าย ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาเพื่อให้นักเรียนเข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต
สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต
ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต) ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระในการเรียนรู้
อ้างอิง
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : โอกาสและความท้าทาย .จิตรลัดดา นุ่นสกุล
คุณ สิรีนาฏ ทาบึงกาฬ จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
 2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร 

"สมาคมอาเซียน"
จากกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับความหลากหลายทั้งด้านสังคมและระบบเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตเป็นอย่างมาก   ทำให้หลายประเทศต้องเร่งเตรียมพร้อมโดยการสร้างกลไกและพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น ให้สามารถปรับตัวและรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  เพื่อให้ประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและเท่าเทียม
ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน  ได้ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียน  เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในเวทีโลก  โดยเฉพาะการใช้กลไกความร่วมมือด้านการศึกษานำพาอาเซียนสู่การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง การพัฒนามาตรฐานการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้นคงไม่เพียงพอ  แต่ยังต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีศักยภาพพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกได้อย่างมั่นใจ    ที่สำคัญคือทุกภาคส่วนในสังคมต้องผสานความร่วมมือขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่เวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ได้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น หรือการเผชิญกับภัยคุกคามที่มาในรูปแบบใหม่
อาเซียน จัดเป็นกลุ่มความร่วมมือของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เก่าแก่กลุ่มหนึ่งในเอเชีย มีอายุเกือบ40 ปี ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา คือ
1.ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community– ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคง ทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัย และมั่นคง
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community– AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
3. ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community- ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
สรุป
การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอันถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ บนพื้นฐานของหลักการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค   ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซี่ยนเคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคนทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้นตั้งแต่นายกรัฐมนตรีไปจนถึงเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน  ประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง เพราะไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะต้องไปมาหาสู่ร่วมประชุมปรึกษาหารือและสื่อสารกัน และไม่เฉพาะนักธุรกิจและคนทำมาค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน 
อ้างอิง
เดลินิวส์ออนไลน์
กระทรวงการต่างประเทศ
ฟาฏินา  วงศ์เลขา
จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 มี.ค. 53
สมเกียรติ อ่อนวิมล
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
การที่จะเป็นครูที่ดี และเป็นผู้นำทางวิชาการนั้น จะต้องเป็นคนที่อยู่กับปัจจุบันไม่ใช่อยู่กับอดีต เป็นคนที่ทันสมัย เป็นคนที่ฉลาด รู้จริง รู้ลึก รู้กระจ่างแจ้ง และมีความคิดสร้างสรรค์  หาข้อมูลที่ทันโลก ทันเหตุการณ์ และสอนให้เด็กรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน รู้จักการให้อภัย มีความรัก ความสามัคคีซึ่งกันและกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความสุข สอนให้เด็กรู้จักการเป็นผู้นำที่ดี กล้าที่จะคิดในเรื่องที่แปลกใหม่ และให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร 
การเรียนรู้โดยใช้บล็อกดิฉันคิดว่ามันเป็นการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพเป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถหาวิชาความรู้ได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและความรู้นั้นจะคงทนถาวรไม่มีการเสียหาย และที่สำคัญการเรียนรู้โดยใช้บล็อกเป็นการประหยัดกระดาษและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติ การให้คะแนนในวิชานี้ก็คือประเมินจากการเข้าเรียนและการส่งงานที่ตรงต่อเวลา และใช้ความคิดของตนเอง ไม่ลอก และมีความคิดสร้างสรรค์ มีความตั้งใจสูงค่ะ ส่วนในเรื่องของเกรดดิฉันอยากได้เกรด A ในวิชานี้ค่ะเพราะ
ฉันมีความพยายามในการเรียนวิชานี้เป็นอย่างมากค่ะ มีความตั้งใจสูง แต่ฉันขาดเรียน 1 วันเพราะมีความจำเป็นและฉันทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่ง ทำงานด้วยความคิดของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบเพื่อนร่วมชั้น และทุกสิ่งที่ตอบลงมาในบล็อกล้วนแล้วเป็นความสัตย์จริงค่ะ






















กิจกรรมที่ 10

แม่คือหนึ่งในใจฉัน
        พระคุณแม่นั้นยิ่งใหญ่เหนือสิ่งใด ไม่อาจเอาสิ่งใดในโลกนี้มาเทียบได้ พระคุณแม่นั้นไม่อาจที่จะทดแทนได้ ความรักของแม่นั้นยิ่งใหญ่ในโลกา เป็นความรักที่บริสุทธิ์ รักที่ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ฉันรักแม่มากกว่าสิ่งใด รักมากเท่าฟ้า รักมากที่สุด น้ำนมเพียงหยดเดียวของแม่นั้นมีความหมายเหนือสิ่งใด ไม่มีคำใดที่จะบรรยายได้ นอกจากบอกว่า หนูรักแม่มากค่ะ รักมากแม่ที่สุดในโลก
        แม่ของฉัน เป็นคนที่อ้วนมาก มีน้ำหนักมากถึง 70 กิโลกรัม แต่ถึงแม้ว่าแม่ของฉันจะอ้วนมากเพียงใด แต่ฉันก็รักแม่ที่สุด รักแม่มากกว่าใครๆ แม่ของฉันเป็นคนที่มีไฝ่เจ้าเสน่ห์ เป็นคนที่จู่จี้ขี้บ่นชอบจุกจิกเกี่ยวกับเรื่องทุกๆเรื่องในครอบครัว แต่แม่ของฉันก็บกพร่องในเรื่องของการทำอาหาร เพราะว่าแม่ของฉันไม่ชอบเข้าครัว ทำอาหารไม่ค่อยเก่ง และไม่เป็นแม่ศรีเรือน แต่แม่ของฉันก็รักลูกทุกๆคนเท่ากัน อยากให้ลูกได้ดี มีการศึกษา อยากให้ลูกทุกคนได้เรียนหนังสือสูงๆ แม่ชอบบ่นอยู่เสมอว่าการศึกษาจะช่วยให้เราเป็นคนมีความรู้ มีความสามารถและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และแม่ก็บอกอีกว่าเรามีความรู้อย่างเดียวไม่พอหรอกเพราะการดำเนินชีวิตบนโลกนี้ต้องดำรงอยู่ด้วยความดี หากเรามีความรู้แต่เราเป็นคนชั่ว ก็ไม่ต่างอะไรกับสุภาษิตที่ว่า มีความรู้ท่วมหัว แต่เอาตัวไม่รอด และแม่ของฉันก็มีคติประจำใจว่า ประดับตนด้วยความรู้ ชนะศัตรูด้วยความดี ฉันเลยยึดคำสอนของแม่มาใช้ในการดำเนินชีวิต
        เนื่องในวันแม่ปีนี้ ฉันอยากบอกแม่ว่า ฉันรักแม่มากที่สุดในโลก รักมากว่าสิ่งใด รักมากกว่าใครๆ และจะรักแม่แบบนี้ตลอดไป และฉันขอให้แม่มีความสุขในชีวิต มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี และมีร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงตลอดไป...


วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

การจัดห้องเรียนที่ดี

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน  การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
1.       ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2.       จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3.       ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4.       ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5.       จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6.       สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
การจัดโต๊ะนักเรียนและเก้าอี้
1.       ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
2.       ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
3.       ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
4.       ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการ  เรียนการสอน
5.      ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
6.       แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
การจัดโต๊ะครู
1.       ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2.     ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
การจัดป้ายนิเทศ   ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
1.       จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
2.       จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3.       จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
4.       จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง





กิจกรรมที่ 8

ครูมืออาชีพ

ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
1.       สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้
2.       สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3.       ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
4.       พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ  บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีห้การยอมรับผู้เรียนทุกคน
5.       มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
6.       เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน 
7.       กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้
8.       ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้
ครูสอนดีต้องมีหลักในการสอน
การสอนที่ดีและมีคุณภาพย่อมต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ ๆ 20 ประการ ดังนี้
1.       ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง
2.       วางแผนการสอนอย่างดี
3.       มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์
4.       สอนจากง่ายไปหายาก
5.       วิธีสอนหลากหลายชนิด
6.       สอนให้คิดมากกว่าจำ
7.       สอนให้ทำมากกว่าท่อง
8.       แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร
9.       ต้องชำนาญการจูงใจ
10.    อย่าลืมใช้จิตวิทยา
11.    ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน
12.    ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์
13.    เฝ้าตามติดพฤติกรรม
14.    อย่าทำตัวเป็นทรราช
15.    สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว
16.    ประพฤติตัวตามที่สอน
17.    อย่าตัดรอนกำลังใจ
18.    ให้เทคนิคการประเมิน
19.    ผู้เรียนเพลินมีความสุข
20.    ครูสนุกกับการเรียน
(รศ.ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์, 2544)
สรุป การสอนเป็นภารกิจหลักของครู ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า คุณภาพของเด็กสะท้อน คุณภาพของครู” ดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป