Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
มาสโลว์เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม
เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์
เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น
แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ
มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological
Needs)
3. ความต้องการทางสังคม
(Social Needs)
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs)
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต
(Self–ActualizationNeeds)
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม
โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ
มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y
แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y
ทฤษฎี Z บางตำราอาจจะเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย
เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์
แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี
แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎีการที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี Aและทฤษฎี J ก่อน
ทฤษฎี A คือ Amarican
Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา
ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต
ทฤษฎี J คือ
การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick
Herzberg)
เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1.
ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2.
ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
เทย์เลอร์
ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1. ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2. ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่างๆ
หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา
บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความเป็นมาและพัฒนาการบริหาร
พัฒนาการของการบริหารในระยะแรกตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มมีความชัดเจนในความหมายของการบริหารที่เน้นไปในทางรัฐประศาสนศาสตร์
(Public adm) เป็นหลัก
แต่ยังไม่ได้ให้ความสนใจการบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมมากนัก
ต่อมาวงวิชาการในมหาวิทยาลัยเริ่มให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าและพัฒนาการบริหารในฐานะเป็น
ศาสตร์ สาขาหนึ่งและมีการศึกษาเทคนิควิธีการใหม่ๆเข้ามาใช้ในวงราชการมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของการบริหาร
1. การบริหารนั้นได้เจริญเติบโตควบคู่กับการดำรงชีพของมนุษย์
2. จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
3. เป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคม
4. นำโลกไปสู่ความเจริญก้าวหน้า
5. เป็นการทำงานร่วมกันของกลุ่มบุคคล
6. เป็นเรื่องที่น่าสนใจและจำเป็นต่อการดำรงชีพอย่างลาด
ความหมายของการบริหารและการบริหารการศึกษา
การบริหาร หมายถึง
กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน
(Herbert A.Simon)
การบริหารเป็นศาสตร์และศิลป์
การบริหารเป็นศาสตร์(Science)
เพราะมีลักษณะเป็นวิชาการสาขาหนึ่งที่มีการจัดระเบียบให้เป็นระบบของการศึกษา
การบริหารเป็นศิลป์
(Art)
การบริหารสามารถนำความรู้หลักการทฤษฎีการบริหารมาประยุกต์ไปสู่การปฏิบัติ
เพราะนั้น ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ คือ
ผู้ที่สามารถประยุกต์เอาศาสตร์การบริหารไปใช้อย่างมีศิลปะ
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ
การบริหารรัฐกิจ(Public Administration)หรือรัฐประศาสนศาสตร์
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองWoodrow Wilson ได้จำแนกวิวัฒนาการทางด้านการศึกษา
ดังนี้
ระยะที่
1 โครงสร้างการบริหารจะเป็นไปในรูปองค์การรูปนัย
ระยะที่
2 การศึกษาเรื่องการบริหาร หันมาเน้นพฤติกรรมองค์การ
และเรื่องของมนุษย์สัมพันธ์ของคนมากขึ้น
ระยะที่
3 การศึกษาหันมาผสมผสานแนวคิดในระยะที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน
คือพิจารณาทั้งในรูปแบบโครงสร้างขององค์การและตัวบุคคล เป็นองค์ประกอบสำคัญ
การแบ่งยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
ยุคที่ 1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม
สำนักนี้มีอยู่
2 สาย
สายการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์
หรือการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
Taylor มอง
คนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุง
เพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้
เจ้าตำรับคือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3
อย่าง คือ
1. เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด
2. ฝึกอบรมคนงานให้ถูกวิธี
3. หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน
สายทฤษฎีองค์การสมัยเดิม
ยุคที่ 2 ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์
เป็นปัจจัยด้านสังคมและจิตวิทยาที่เรียกว่า มนุษยสัมพันธ์
ส่งผลดีต่อการทำงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นอย่างมาก
ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร
ยุคนี้เริ่มมองการบริหารเป็นเรื่อง
การจัดองค์การที่เป็นทางการ จึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล
มุ่งด้านระบบขององค์การ และสนใจจะพูดถึงพฤติกรรมศาสตร์
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
งานของผู้บริหารการศึกษา
โดยทั่วไปจัดเป็นงานใหญ่ 3 ประเภทคือ
1. งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังทำอยู่
2. งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ
3. งานที่ตัวผู้บริหารการศึกษาเองคิดว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำจะมีใครกำหนดหรือไม่ก็ตาม
บทบาทและพฤติกรรมการบริหาร
2. กำหนดนโยบาย
3. กำหนดบทบาท
4. ประสานงาน
5. ประเมินประสิทธิภาพ
6. ทำงานกับผู้นำชุมชน เพื่อการปรับปรุงการศึกษา
7. ใช้ทรัพยากรทางการศึกษาของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
8. การติดต่อสื่อสาร
9. การให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ขงจื้อ : ถ้าผู้ปกครองประพฤติให้ถูกต้อง จะนำประชาชนได้โดยไม่ต้องบังคับ
บุญชาถ้าเขาปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง เขาจะบังคับบัญชาใครก็ไม่มีใครเชื่อ
บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
ความคิดรวบยอดในการบริหารการศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาในสังคมประชาธิปไตยต้องถือว่าตนเองเป็นนักบริหาร
และนักวิชาการมีหน้าที่กระทำตามระบอบประชาธิปไตย
กระบวนการบริหารการศึกษา
กระบวนการบริหารการศึกษาประกอบด้วยขั้นตอน
7 ประการ
2. Organization หมายถึง
การจัดองค์การหรือการจัดหน่วยงาน
3. Staffing หมายถึงการดำเนินการบริหารงานบุคคลหรือเจ้าหน้าที่
4. Directing หมายถึงการวินิจฉัยสั่งการ
5. Coordinating หมายถึง การประสานงานระหว่างหน่วยงาน
6. Reporting หมายถึง การรายงานผลการปฏิบัติงาน
และการประชาสัมพันธ์ขององค์การ
7. Budgeting หมายถึง การบริหารงบประมาณการเงิน
การกำหนดเป้าหมายต้อง SMART
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแผนการปฏิบัติการนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะจะเป็นตัวกำกับทิศทางการทำงาน
และกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ
บทที่ 5
องค์การและการจัดการ
องค์การที่อยู่รอบตัวเราแบ่งออกเป็น
3 ลักษณะใหญ่ๆ
1. องค์การทางสังคม
2. องค์การทางราชการ
3. องค์การเอกชน
องค์การ หมายถึงการรวมตัวของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการทำกิจกรรมหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอาศัยกระบวนการจัดโครงสร้างของกิจกรรม
ความสำคัญของการจัดองค์การ
องค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆเพื่อให้พนักงานขององค์การปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
การจัดองค์การมีความจำเป็นและก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. ประโยชน์ต่อองค์การ
2. ประโยชน์ต่อผู้บริหาร
3. ประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา
ระบบราชการหมายถึง ระบบการบริหารงานที่มีลักษณะรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก
มีความอิสระในการปฏิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร
ระบบราชการในแง่พฤติกรรมหรือกิจกรรมขององค์การที่แสดงออกตามหน้าที่แบ่งออกเป็น
2 แนวทางคือ
1. พฤติกรรมที่มีเป้าหมายแน่นอน
2. พฤติกรรมที่ผิดปกติ
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร (Communication)
การติดต่อสื่อสาร หมายถึง การส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง
หรือหลายคน เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งส่งไป
และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ซึ่งการส่งข่าวสารอาจอยู่ในรูปของการสื่อสารด้วยวาจา
ลายลักษณ์อักษร การใช้กิริยาท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้
โดยอาศัยช่องทางในการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารมี 5 ประการคือ
1. มีผู้ทำการติดต่อสื่อสาร
2. ทำการติดต่อสื่อสาร
3. ข่าวสาร
4. ผู้รับการติดต่อสื่อสาร
5. การตอบรับ
การติดต่อสื่อสารมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารข้อเท็จจริงและความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
สร้างทัศนะคติที่จำเป็นสำหรับกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
ความร่วมมือและเกิดความพึงพอใจในหน่วยงาน
รูปแบบการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1. การติดต่อสื่อสารแบบพิธีการ
2. การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นพิธีการ
ปัญหาและอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร
1. โครงสร้างขององค์การมีระดับชั้นมากเกินไป
2. หน่วยงานต่างๆในโครงสร้างอยู่ห่างไกลกัน
3. การใช้ภาษาย่อหรือศัพท์เฉพาะที่คนทั่วไปไม่อาจเข้าใจ
4. การขาดการวางแผน
5. การใจลอยโดยมิตั้งใจฟังสิ่งที่คนอื่นกำลังพูด
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ (Leadership)
ภาวะผู้นำหมายถึงความสามารถในการนำซึ่งเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ
ภาวะผู้นำได้รับความสนใจและศึกษามานานแล้วเพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ
1. ผู้นำ
2. ผู้ตาม
3. สถานการณ์
1.
ผู้นำประเภทนิเสธ
2.
ผู้นำประเภทปฏิฐาน
หน้าที่ของผู้นำ
1.
หน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อองค์การ
2.
หน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
3.
หน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อหน่วยงานอื่นในองค์การเดียวกัน
4.
หน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อตัวเอง
ผู้นำนั้นอาจเป็นผู้นำโดยการที่กลุ่มยกย่องขึ้นมาเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่นในกลุ่มหรืออาจเป็นผู้บริหารในองค์การที่มีรูปแบบเป็นทางการซึ่งกระทำหน้าที่ผู้นำไปในตัวแม้จะเป็นความจริงที่ว่าผู้มีอำนาจทางการบริหารย่อมเป็นที่เคารพเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชาในอันที่จะปฏิบัติงานตามที่มอบหมายให้ก็ตามแต่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานจะมีไม่ได้เลยหากผู้ปฏิบัติงานมิได้กระทำด้วยกำลังกายและกำลังใจ
บทที่ 8
การประสานงาน(Coordination)
การประสานงาน หมายถึง การที่บุคคลหรือหน่วยงานในองค์กร ทำงานร่วมกับบุคคลและหน่วยงานอื่นเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีลักษณะเป็นกระบวนการที่ต้องกระทำต่อเนื่องสอดคล้องกันไปเพื่อให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
จุดมุ่งหมายในการประสานงาน คือ
1. ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
2. เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น
3. เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
วิธีการประสานงาน
1. วิธีการประสานงานภายในองค์การ
2. วิธีการประสานงานระหว่างองค์การ
ประโยชน์ของการปฏิบัติงาน
1. ช่วยลดการขัดแย้งในการปฏิบัติงาน
2. ช่วยขจัดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน
3. เกิดความสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกัน
4. ช่วยให้เกิดเอกภาพในการทำงาน
5. ช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายโดยสะดวกรวดเร็วอุปสรรคในการประสานงาน
1. การขาดมนุษยสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน
2. การขาดแผนการปฏิบัติงาน
3. ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานแตกต่างกัน
4. การแก่งแย้งก้าวก่ายหน้าที่กัน
5. ขาดการติดต่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เป็นเหตุให้การทำงานไม่ประสานสัมพันธ์กัน
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ (Decision Making)
การตัดสินใจ หมายถึง
การตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อโต้เถียงโดยให้มีการกระทำไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว
ในการตัดสินใจและวินิจฉัยสั่งการนั้นผู้บริหารควรมีหลักการ
ดังนี้
1.
ความถูกต้อง
2.
การยอมรับ
3.
สามารถปฏิบัติได้
กระบวนการตัดสินใจโดยใช้เหตุผลประกอบด้วย 6 ขั้นตอน
1. การกำหนดปัญหา
2. ค้นหาทางเลือก
3. การประเมินทางเลือก
4. ทำการตัดสินใจ
5. การปฏิบัติตามการตัดสินใจ
6. การประเมินผลลัพธ์และการจัดหาการย้อนกลับ
ประโยชน์ของการตัดสินใจ
1. ทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์
2. ช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี
3. ทำให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนและพัฒนางาน
โทษของการตัดสินใจผิดพลาด
การตัดสินใจผิดพลาดของผู้บริหารก่อโทษต่อการบริหารงานเป็นอย่างมากซึ่งจะนำไปสู่ความล้มเหลวขององค์การในที่สุด
บทที่
10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
การบริหารการศึกษาแบ่งเป็นงาน 6 อย่าง
1. การบริหารงานวิชาการ
2. การบริหารงานบุคคล
3. การบริหารงานกิจการนักเรียน
4. การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
5. การบริหารงานการเงิน
6. อาคารสถานที่
ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ
เมื่องานวิชาการถือเป็นหัวใจของสถานศึกษา
จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา เพราะผลผลิต (product)
ของโรงเรียนจะมีคุณภาพเพียงใดงานวิชาการจะเป็นเครื่องบ่งชี้
ผู้บริหารกับการบริหารหลักสูตร
1. หลักสูตร คลุม 1.จุดมุ่งหมาย 2. หลักการ 3.
โครงสร้าง 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 5.
เนื้อหารายวิชา 6. สื่อการเรียน 7. การวัดกิจกรรมการเรียนการสอน 8. การประเมินผล
2. กระบวนการของหลักสูตร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล คือ การใช้คนให้ทำงานได้ผลดีที่สุด ภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุดและบรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
ระบบการบริหารบุคคลมี 2 ระบบ
1. ระบบคุณวุฒิหรือคุณธรรม (Merit system)
กระบวนการบริหารงานบุคคล
1. การสรรหาและคัดเลือกตัวบุคคล
2. การบำรุงรักษาบุคลากร
3. การพัฒนาบุคลากร
4. การให้บุคคลพ้นจากงาน
การบริหารงานธุรการในโรงเรียน
แนวปฏิบัติในการจัดและบริหารงานธุรการ
1. การจัดบุคลากรเข้าทำงานในสายงานธุรการ
2. รายละเอียดของงานเฉพาะอย่าง
การบริหารกิจการนักเรียน
การบริหารกิจการนักเรียนอาศัยกระบวนการ ดังนี้
1. การวางแผนกิจการนักเรียน
2. จัดหน่วยงานลงมารับผิดชอบ
3. กำหนดตัวบุคคลเข้าตามหน่วยงาน
4. ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
5. การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. การรายงานผล
7. การประเมินผลงาน
การบริหารอาคารสถานที่และบริการอื่นๆ
ขอบข่ายของงานอาคารสถานที่มี 5 ลักษณะดังนี้
1. การจัดสร้างอาคาร
2. การใช้อาคารสถานที่
3. การบำรุงรักษาอาคารสถานที่
4. การควบคุมดูแลอาคารสถานที่
5. การประเมินผลการใช้อาคารสถานที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น