การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน
เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา
ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
1.
ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู
สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2.
จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน
และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3.
ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข
มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4.
ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า
ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5.
จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม
การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6.
สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น
ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
การจัดโต๊ะนักเรียนและเก้าอี้
1. ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
2. ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก
และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
3. ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
4. ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ
เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม
ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการ เรียนการสอน
5. ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
6. แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร
ไม่น้อยกว่า 3 เมตร
ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ
และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
การจัดโต๊ะครู
1. ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม
อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้
งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง
อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2. ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู
และการวางสมุดงานของนักเรียน
ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน
ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
1. จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม
น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
2. จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน
อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3. จัดให้ใหม่อยู่เสมอ
สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
4. จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น