วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้นทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย
"การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็นในยุคดิจิติล การใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ" การใช้แท็บเล็ต(Tablet) ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้  โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ  พัฒนาเครือข่าย ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาเพื่อให้นักเรียนเข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต
สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต
ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต) ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระในการเรียนรู้
อ้างอิง
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : โอกาสและความท้าทาย .จิตรลัดดา นุ่นสกุล
คุณ สิรีนาฏ ทาบึงกาฬ จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
 2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร 

"สมาคมอาเซียน"
จากกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับความหลากหลายทั้งด้านสังคมและระบบเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตเป็นอย่างมาก   ทำให้หลายประเทศต้องเร่งเตรียมพร้อมโดยการสร้างกลไกและพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น ให้สามารถปรับตัวและรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  เพื่อให้ประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและเท่าเทียม
ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน  ได้ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียน  เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในเวทีโลก  โดยเฉพาะการใช้กลไกความร่วมมือด้านการศึกษานำพาอาเซียนสู่การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง การพัฒนามาตรฐานการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้นคงไม่เพียงพอ  แต่ยังต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีศักยภาพพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกได้อย่างมั่นใจ    ที่สำคัญคือทุกภาคส่วนในสังคมต้องผสานความร่วมมือขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่เวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ได้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น หรือการเผชิญกับภัยคุกคามที่มาในรูปแบบใหม่
อาเซียน จัดเป็นกลุ่มความร่วมมือของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เก่าแก่กลุ่มหนึ่งในเอเชีย มีอายุเกือบ40 ปี ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา คือ
1.ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community– ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคง ทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัย และมั่นคง
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community– AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
3. ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community- ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
สรุป
การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอันถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ บนพื้นฐานของหลักการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค   ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซี่ยนเคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคนทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้นตั้งแต่นายกรัฐมนตรีไปจนถึงเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน  ประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง เพราะไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะต้องไปมาหาสู่ร่วมประชุมปรึกษาหารือและสื่อสารกัน และไม่เฉพาะนักธุรกิจและคนทำมาค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน 
อ้างอิง
เดลินิวส์ออนไลน์
กระทรวงการต่างประเทศ
ฟาฏินา  วงศ์เลขา
จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 มี.ค. 53
สมเกียรติ อ่อนวิมล
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
การที่จะเป็นครูที่ดี และเป็นผู้นำทางวิชาการนั้น จะต้องเป็นคนที่อยู่กับปัจจุบันไม่ใช่อยู่กับอดีต เป็นคนที่ทันสมัย เป็นคนที่ฉลาด รู้จริง รู้ลึก รู้กระจ่างแจ้ง และมีความคิดสร้างสรรค์  หาข้อมูลที่ทันโลก ทันเหตุการณ์ และสอนให้เด็กรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน รู้จักการให้อภัย มีความรัก ความสามัคคีซึ่งกันและกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความสุข สอนให้เด็กรู้จักการเป็นผู้นำที่ดี กล้าที่จะคิดในเรื่องที่แปลกใหม่ และให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร 
การเรียนรู้โดยใช้บล็อกดิฉันคิดว่ามันเป็นการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพเป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถหาวิชาความรู้ได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและความรู้นั้นจะคงทนถาวรไม่มีการเสียหาย และที่สำคัญการเรียนรู้โดยใช้บล็อกเป็นการประหยัดกระดาษและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติ การให้คะแนนในวิชานี้ก็คือประเมินจากการเข้าเรียนและการส่งงานที่ตรงต่อเวลา และใช้ความคิดของตนเอง ไม่ลอก และมีความคิดสร้างสรรค์ มีความตั้งใจสูงค่ะ ส่วนในเรื่องของเกรดดิฉันอยากได้เกรด A ในวิชานี้ค่ะเพราะ
ฉันมีความพยายามในการเรียนวิชานี้เป็นอย่างมากค่ะ มีความตั้งใจสูง แต่ฉันขาดเรียน 1 วันเพราะมีความจำเป็นและฉันทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่ง ทำงานด้วยความคิดของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบเพื่อนร่วมชั้น และทุกสิ่งที่ตอบลงมาในบล็อกล้วนแล้วเป็นความสัตย์จริงค่ะ






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น